
ความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute humidity) คือมวลรวมของไอน้ำที่มีอยู่ในปริมาตรอากาศที่กำหนด เป็นการวัดปริมาณไอน้ำที่แท้จริงในอากาศ โดยไม่คำนึงถึงอุณหภูมิของอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์มักจะแสดงเป็นกรัมของไอน้ำต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ (g/m³)
สูตรคำนวณความชื้นสัมพัทธ์ (AH) คือ

โดยที่มวลของไอน้ำ (Mass of water vapor) มีหน่วยเป็นกรัม (g) และปริมาตรอากาศ (volume of air) เป็นลูกบาศก์เมตร (m³) หน่วยทั่วไปสำหรับความชื้นสัมบูรณ์คือกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (g/m³)
ตัวอย่างการคำนวณ
เพื่อให้เข้าใจถึงการคำนวณความชื้นสัมบูรณ์ให้พิจารณาตัวอย่างที่ใช้วัดมวลไอน้ำในปริมาตรอากาศ มวลของไอน้ำ = 10 กรัม ปริมาตรอากาศ = 2 ลูกบาศก์เมตร
ความชื้นสัมบูรณ์ = 10/2 = 5 g/m³
ความแตกต่างระหว่างความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute humidity) และอื่นๆ
สัมบูรณ์ (Absolute humidity) เทียบกับสัมพัทธ์ (Relative humidity)
- ความชื้นสัมบูรณ์: วัดปริมาณไอน้ำตามจริงในอากาศ
- ความชื้นสัมพัทธ์: วัดปริมาณไอน้ำในอากาศโดยสัมพันธ์กับปริมาณไอน้ำสูงสุดที่อากาศสามารถกักเก็บได้ที่อุณหภูมิที่กำหนด แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)
สัมบูรณ์เทียบ (Absolute humidity) กับจุดน้ำค้าง (Dew point):
- ความชื้นสัมบูรณ์: การวัดปริมาณไอน้ำโดยตรง
- จุดน้ำค้าง: อุณหภูมิที่อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำและการควบแน่นเริ่มต้นขึ้น

หน่วยการวัดความชื้นชนิดต่างๆ
หน่วยความชื้น | หน่วยวัด |
---|---|
ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) | % RH |
ความชื้นจำเพาะ (Specific Humidity) | g/kg |
ความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute Humidity) | g/m³ |
ความดันไอ (Vapor Pressure) | Pa |
จุดน้ำค้าง (Dew Point) | Celcius °C หรือ Farenheit °F |
Moisture Content | % |